“สุรวาท” เสนอให้ทบทวนการเพิ่มงบอาหารกลางวันนักเรียน

ตามที่ ที่ประชุม ครม. มีมติที่สำคัญอย่างยิ่งในการปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียน

การศึกษา  ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่ง ศธ.ได้เห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด แม้ปีที่ผ่านมาได้ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันจาก 20 บาท เป็น 21 บาทแล้วก็ตาม แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ค่าครองชีพได้ปรับสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ต้นทุนของการประกอบอาหารสูงขึ้นตามไปด้วย ศธ.ได้เล็งเห็นปัญหาและกลับมาทบทวนตัวเลขที่เหมาะสมของอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนให้มีคุณภาพมากที่สุด ให้โภชนาการครบ 5 หมู่ เพราะเป็นช่วงวัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ส่งผลต่อพัฒนาการด้านกายภาพและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับมติ ครม. ที่ได้ปรับอัตราค่าอาหารกลางวัน ได้ปรับอัตราให้ตามขนาดของโรงเรียนต่อคนต่อวัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1-40 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 36 บาท/คน/วัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41-100 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 27 บาท/คน/วัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101-120 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 24 บาท/คน/วัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 22 บาท/คน/วัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดในอัตรา 21 บาทต่อคนต่อวัน เป็นเงิน 3,533,280,000 บาท ซึ่งจะเริ่มใช้ในการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 28,365,864,000 บาท นั้น

เสนอให้ทบทวนการเพิ่มงบอาหาร
[เพิ่มงบอาหารกลางวัน มีอะไรผิดปกติ หรือไม่] การเพิ่มงบ เป็นเรื่องดี แต่ความเหมาะสม ควรต้องปรับปรุงอัตราการเพิ่ม ให้รอบคอบ

การศึกษา #นักเรียนทั้งโรงเรียนน้อยกว่าได้งบมากกว่า ตัวอย่างที่พบ นร. 40 คน ได้รับงบคนละ 36 บาท เป็นเงิน 40×36=1,440 บาท นร. 41 คน ได้รับงบคนละ 27 บาท เป็นเงิน 41×27=1,107 บาท นร. 100 คน ได้รับงบคนละ 27 บาท เป็นเงิน 100×27=2,700 บาท นร. 101 คน ได้รับงบคนละ 24 บาท เป็นเงิน 101×24=2,424 บาท นร. 120 คน ได้รับงบคนละ 24 บาท 120×24=2,880 บาท นร. 121 คน ได้รับงบคนละ 22 บาท 121×22=2,663 บาท รศ.ดร.สุรวาท ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า “ตามหลักควรจัดสรรแยกเป็น – ค่าวัสดุประกอบอาหาร – ค่าประกอบอาหาร จัดอาหาร ล้างชำระ ฯ – ค่าดำเนินงานเช่น พาหนะเดินทาง วัสดุเชื้อเพลิง อุปกรณ์ เป็นต้น หรือง่าย ๆ 2 ยอด รายหัวเป็นค่าวัสดุ เท่ากันหรือต่างกันเล็กน้อย และไปเพิ่มค่าดำเนินการอื่น ๆ ตามความจำเป็นจริง ดังนั้น จึงขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์ในการเพิ่มนี้ให้รอบคอบและเท่าเทียมกันอีกครั้งหนึ่ง”

แนะนำข่าวข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ก.ค.ศ.ถกปรับแก้องค์ประกอบอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่