แก้กฎหมายไซเบอร์เพิ่มโทษ สกมช.ไล่บี้องค์กรละเลยความปลอดภัย

กฎหมายไซเบอร์ 1

สกมช.เตรียมแก้กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพิ่มบทลงโทษหลังหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานละเลยไม่ทำตามกฎหมาย เล็งเพิ่มโทษปรับ ไม่ปฏิบัติตามละเมิดมาตรา 157 เพราะกฎหมายปัจจุบันไร้บทลงโทษที่ชัดเจน เพราะเน้นขอความร่วมมือ ไม่บังคับ

ข่าวเศรษฐศาสตร์  พลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปี 2566 นี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติหรือ สกมช.ยังคงมุ่งดำเนินงานตามภารกิจในการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมและกำกับดูแล (Regulator) หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) และส่วนงาน Sectoral CERT เพื่อป้องกันและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการขับเคลื่อนให้หน่วยงานดังกล่าวปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2564 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 6 ก.ย.2565 รวมถึงนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2565-2570 ที่ได้ประกาศใช้ไปแล้วด้วยอย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งสำนักงาน สกมช.สำเร็จในเดือน ม.ค.ปี 2564 ในฐานะองค์กรอิสระ ภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2562 ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในปีนี้ สกมช.จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายให้มีความเข้มข้นขึ้น เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เน้นการตักเตือน ขอความร่วมมือเป็นหลัก ซึ่งเป็นการติดตามดูแลในเชิงบวก แต่นับจากนี้คงต้องมีในเชิงลบบ้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มากกว่านี้สกมช.มีเป้าหมายติดตามหน่วยงานทั่วประเทศที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายราว 120 องค์กร

กฎหมายไซเบอร์ 1

ทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ได้แก่ 3 การไฟฟ้าในฐานะผู้ให้บริการสาธารณูป โภคพื้นฐานที่มีความสำคัญ ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) 3 ค่ายมือถือ

ข่าวเศรษฐศาสตร์  แต่ขณะนี้มีหน่วยงานที่ปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้เพียง 54 หน่วยงาน และที่ยังตกหล่นอยู่และจำเป็นต้องปฏิบัติใต้กฎหมาย ได้แก่ การประปานครหลวงและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งดูแลโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น”เลขาธิการ สกมช. กล่าวอีกว่า การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มขึ้น อาจรวมถึงการเอาผิดตามมาตรา 157 ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา ข้อหาการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานด้วย “การมีผลบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA และ พ.ร.บ.ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐห้ามปฏิเสธการให้บริการประชาชนบนโลกออนไลน์ ยังถือเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ในภาพรวม”อย่างไรก็ตาม ในโอกาสที่กฎหมายมีอายุครบ 5 ปีในปี 2567 สกมช.ได้เตรียมปรับแก้กฎหมายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นเพิ่มบทลงโทษ โดยเฉพาะโทษปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามกรอบมาตร ฐานกฎหมาย เพราะกฎ หมายปัจจุบันเน้นการปฏิบัติแบบขอความร่วมมือ (Volunteer) มากกว่าการบังคับ

แนะนำข่าวเศรษฐศาตสร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  หนุนเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟดอยช้าง​ ก้าวข้ามกับดักหนี้